ภารกิจหลักและภารกิจรอง ที่เทศบาลตำบลพรานกระต่ายจะดำเนินการ
ภารกิจหลักการพัฒนา
- การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิต สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส - การจัดระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในท้องถิ่น - การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล - ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม - การจัดให้ประชาชนได้รับการศึกษาอบรม และส่งเสริมพัฒนากระบวนการเรียนรู้ - การจัดการศึกษา การกีฬาและนันทนาการ และการศาสนา - สนับสนุนส่งเสริมหัตถกรรมพื้นบ้านและหินอ่อน - การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ - ปรับปรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน - ส่งเสริมจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น - การจัดให้มีการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และการก่อสร้างอื่น ๆ - การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อน - การคุ้มครองดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - การจัดทำผังเมืองรวม - การส่งเสริมการท่องเที่ยว - การทำการเกษตรปลอดภัย
ภารกิจรอง
- การจัดให้มีการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และการก่อสร้างอื่น - การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร - การจัดให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา - การจัดให้มีและการบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่าง - การควบคุมอาคาร - การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน - การจัดให้มีการควบคุมตลาด - การจัดปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย - การจัดให้มีและการควบคุมการฆ่าสัตว์ - การดูแลรักษาที่สาธารณะ - การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ - การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง - การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ - การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน - การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
จากภารกิจ อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลพรานกระต่าย ตลอดจนภารกิจหลักและภารกิจรองที่เทศบาลตำบลพรานกระต่ายจะดำเนินการ และการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม โดยเทคนิค SWOT สามารถนำมากำหนดพันธกิจการพัฒนาส่วนราชการต่าง ๆ ของเทศบาลตำบลพรานกระต่าย เพื่อให้ทราบถึงขอบเขตของภารกิจ อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ ได้ดังนี้
1. สำนักปลัดเทศบาล ประกอบด้วย
- การป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน - การอำนวยความสะดวก สร้างความพึงพอใจในการให้บริการ - การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร และการเสริมสร้างสิทธิ คุณธรรมและจริยธรรม - การเสริมสร้างสนับสนุนประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วม - การอนุรักษ์ ส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และงานรัฐพิธีต่าง ๆ - การพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพและการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน - การจัดการดูแลอาคาร/สถานที่ของอาคารสำนักงาน - การให้บริการด้านทะเบียนราษฎร - การส่งเสริม/สนับสนุน/พัฒนาชุมชน/โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา - การพัฒนาคุณภาพชีวิต และให้การสังคมสงเคราะห์กลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคม - การอำนวยความสะดวก ประสานงาน และพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน - การปรับปรุงประสิทธิภาพและลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน - การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น - การดำเนินงานเกี่ยวกับการรับการถ่ายโอนภารกิจเกี่ยวกับการจดทะเบียนพาณิชย์
2. กองคลัง ประกอบด้วย
- การบริหารงานคลังด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) - การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้โดยจัดทำแผนเพื่อให้การจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น ถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นธรรม โดยใช้ระบบสารสนเทศ - การให้บริการประทับใจด้วยรอยยิ้มและบริการที่มีคุณภาพของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน - การจัดหาพัสดุโดยการยึดแผนจัดซื้อจัดจ้างเป็นหลัก ให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อกฎหมายหนังสือสั่งการ นโยบายของผู้บริหาร เพื่อเกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ทันเวลา - การเบิกจ่ายเงินเป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย หนังสือสั่งการ เทศบัญญัติ และแผนการเบิกจ่ายเงินอย่างรวดเร็วมีผลให้การเบิกจ่ายเงินทันภายในปีงบประมาณ และรายงานการเงินเป็นปัจจุบันถูกต้อง และเชื่อถือได้ - การใช้ระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินในการปฏิบัติงานให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน - การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานธุรการ เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
3. กองช่าง ประกอบด้วย
- การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ - การสาธารณูปโภค และการก่อสร้าง - การควบคุมอาคารและผังเมือง - การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ - ปรับปรุงประสิทธิภาพและการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน - การควบคุมสถานที่กักเก็บและสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
4. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
- การจัดระบบบริการด้านสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ดีของประชาชนในพื้นที่ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุกลุ่มเสี่ยงตามช่วงอายุ และผู้ด้อยโอกาสให้มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืนโดยครอบคลุมกิจกรรมดังนี้ 1. บริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ 2. บริการด้านการป้องกันโรค 3. บริการด้านการรักษาพยาบาลทั่วไป 4. บริการฟื้นฟูสภาพ - การสนับสนุนกิจกรรมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้เป็นผู้นำทางการเปลี่ยนแปลง และมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง ครอบครัว ชุมชน ครอบคลุมด้านสุขภาพ/สังคม/สิ่งแวดล้อม - การสนับสนุนการสร้างภาคีเครือข่ายทางด้านสุขภาพ ด้านการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม - การสนับสนุนให้ประชาชนดูแลสุขภาพ ตามหลักธรรมชาติบำบัด (Nature Care) หรือแพทย์ทางเลือก (Alternative Medicine) หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น - การรักษา ส่งเสริม ติดต่อ ตรวจสอบ คุณภาพสิ่งแวดล้อม และสถานประกอบการที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนให้เป็นไปตามกฎหมาย - การปรับปรุงประสิทธิภาพและลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน - การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
5. กองวิชาการและแผนงาน ประกอบด้วย
- การจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล ให้เป็นไปตามระเบียบ หนังสือสั่งการ และมีประสิทธิภาพ - การจัดทำงบประมาณ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองต่อความต้องการและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน - การจัดการด้านกฎหมายเพื่อดำเนินการต่าง ๆ ของเทศบาลเป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่กำหนด - การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัยสามารถตอบสนองต่อความต้องการขององค์กรได้ - การจัดการศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การรับเรื่องราวร้องทุกข์ - การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของเทศบาลให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง - การสร้างเครือข่ายงานประชาสัมพันธ์เพื่อให้มีข้อมูลที่ครบถ้วนในการประชาสัมพันธ์ - การจัดระเบียบของงานธุรการให้เป็นไปตามระเบียบงานสารบรรณ - การดำเนินการเบิกจ่ายถูกต้องและเป็นไปตามเวลาที่กำหนด - การจัดระบบควบคุมภายใน - การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น - ปรับปรุงประสิทธิภาพและการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
6. กองการศึกษา ประกอบด้วย
- การส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา - การพัฒนาระบบการจัดการศึกษาเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาลตำบลพรานกระต่าย - การพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนโดยมุ่งเน้นความเป็นเลิศตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ - การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในด้านสุขภาพอนามัย คุณธรรม จริยธรรม สิ่งแวดล้อมและอาคารสถานที่ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลตำบลพรานกระต่าย - การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กเยาวชนและประชาชนในท้องถิ่น - การส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชน โดยการศึกษานอกระบบ - การส่งเสริมด้านสุขภาพ พลานามัยให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่น - การส่งเสริมสนับสนุนคุณธรรม จริยธรรม แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่น - การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา - การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารและการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน - การอนุรักษ์ ส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นและงานรัฐพิธีต่าง ๆ
|